logo
image

icon-travel-2 4 วัดห้ามพลาด เมื่อไปเที่ยวเชียงราย

4 วัดห้ามพลาด เมื่อไปเที่ยวเชียงราย

สิงหาคม 14, 2020
แชร์ :

4 วัดห้ามพลาด เมื่อไปเที่ยวเชียงราย

หลังจากต้องกักตัวอยู่บ้าน ให้ห่างโควิทกันมานาน เราก็ห่างหายจากการท่องเที่ยวไปนานเช่นกัน วันนี้สนุกพาเที่ยวจะพาไปอัพเดทที่เที่ยววัดดังในเชียงราย ใครอยากไหว้พระทำบุญ เสริมศิริมงคลให้กับชีวิตห้ามพลาด!!!

มากันที่วัดแรกเลยนะคะ คือ วัดพระแก้ว เป็นวัดที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของจังหวัดเชียงราย เป็นวัดที่มีการค้นพบพระแก้วมรกตหรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรเป็นครั้งแรก ก่อนที่จะถูกอัญเชิญไปประดิษฐานยังเมืองสำคัญต่างๆ จนกระทั่งได้มาประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯในปัจจุบัน

วัดพระแก้ว
วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว เดิมมีชื่อว่าวัดป่าญะ หรือป่าเยียะ เป็นวัดที่เก่าแก่อยู่คู่จังหวัดเชียงรายมาช้านาน ตามประวัติเล่าว่าเมื่อปี พ.ศ.1977 ฟ้าผ่าองค์พระเจดีย์พบพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองอยู่ภายในจึงนำมาประดิษฐานไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบางแห่งหลุดกะเทาะออก จึงกะเทาะปูนออกทั้งองค์พบพระแก้วมรกต มีพุทธลักษณะงดงามมากเป็นที่เลื่องลือโจษขานกันทั่วไป จากการค้นพบพระแก้วมรกตในครั้งนั้น วัดแห่งนี้จึงได้รับการขนานนามใหม่ว่า วัดพระแก้ว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 แม้ในปัจจุบันจะไม่มีพระแก้วมรกตองค์จริงอยู่ที่นี่ แต่ภายในวัดยังมีโบราณสถาน และโบราณวัตถุ มีโฮงหลวงแสงแก้วเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บข้าวของเครื่องใช้ในสมัยล้านนาไว้มากมาย เป็นอาคารทรงล้านนาประยุกต์ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญ เช่นพระพุทธสิหิงค์ (จำลอง) รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่ทันสมัย และมีหอพระหยก ที่สร้างด้วยศิลปะแบบล้านนาโบราณ เป็นอาคารไม้ ตามจินตนาการของ อาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร ภายในมี พระพุทธรัตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล หรือ พระหยกเชียงราย

พระพุทธรัตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล
พระพุทธรัตนากร นวุตติวัสสานุสรณ์มงคล
วัดพระแก้ว
วัดพระแก้ว

มาต่อกันวัดที่สอง คือ วัดร่องเสือเต้น  ตั้งอยู่ที่ชุมชนร่องเสือเต้น ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย  เป็นวัดที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก การสร้างแบบศิลปะไทยประยุกต์ จากฝีมือศิลปินท้องถิ่นชาวเชียงราย ของ นายพุทธา  กาบแก้ว หรือ สล่านก ซึ่งเคยเป็นลูกศิษย์ของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์  และเคยเข้าไปทำงานที่วัดร่องขุ่น โดยพระวิหารแห่งนี้ให้นิยามว่าเป็นทิพยสถาน คือ เป็นการสรรเสริญพระพุทธเจ้าทั้งในรูปแบบของประติมากรรมและจิตรกรรม เมื่อคนเข้าไปมีจิตใจดีก็จะรักษาศีลก่อให้เกิดสมาธิ และปัญญาตามมา

 

ภายในวิหารมีผลงานจิตรกรรมภาพวาดฝาพนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ โดยใช้เฉดสีน้ำเงินฟ้ามีลวดลายที่อ่อนช้อยงดงาม  ไฮไลต์ที่สำคัญอยู่ที่พระอุโบสถใหม่ที่สร้างขึ้น ด้วยศิลปะแบบไทยประยุกต์ ที่มีศิลปะที่มีความสวยงดงามแปลกตา โดยเฉพาะ ประติมากรรมบันไดพญานาคที่ใช้เฉดสีเดียวกันนั้นมีความชดช้อยและลวดลายแตกต่างจากประติมากรรมทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด  ได้นำเอารูปแบบผลงานของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ พ.ศ.2544 ผู้สร้างบ้านดำ จ.เชียงราย ที่มีความโดดเด่นเรื่อง เขาและงามาประยุกต์ใช้  โดยเฉพาะช่วงเขี้ยวของพญานาคมีความพลิ้วไหว อ่อนช้อย  โดยพระวิหารแห่งนี้ให้นิยามว่าเป็นทิพยสถาน คือ เป็นการสรรเสริญพระพุทธเจ้าทั้งในรูปแบบของประติมากรรมและจิตรกรรม เมื่อคนเข้าไปมีจิตใจดีก็จะรักษาศีลก่อให้เกิดสมาธิ และปัญญาตามมา  ภายในวิหารมีผลงานจิตรกรรมภาพวาดฝาพนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ โดยใช้เฉดสีน้ำเงินฟ้ามีลวดลายที่อ่อนช้อยงดงาม มีพระประธานสีขาว สูง 6.50 เมตร หน้าตักกว้าง 5 เมตร และอีกหนึ่งที่งดงาม ชื่อว่า “พระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ” มีพระประธาน สีขาวมุกขนาดหน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 6.5 เมตร โดยมีพระรอดลำพูน จำนวน 88,000 องค์ และแก้วแหวนเงินทองหลายสิ่งถูกฝังอยู่ ใต้พระพุทธรูปองค์นี้ รวมทั้งบริเวณพระเศียรก็ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก รวมทั้งยังได้รับพระราชทานนามพระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ ที่หมายความว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคล เจ้าในความเป็นราชา เป็นที่พึ่งในสามโลก” นอกจากนั้นด้านหลังวิหารมีพระพุทธรูปสีขาวปาง ห้ามญาติ องค์ใหญ่ ประดิษฐานตรงด้านหลัง ถัดไปคือ  “พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีห้าพระองค์” มีความสูง 20 เมตร โดยยอดขององค์พระธาตุ ได้บรรจุพระบรมสาริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสงฆปรินายก

วัดร่องเสือเต้น
วัดร่องเสือเต้น
วัดร่องเสือเต้น
วัดร่องเสือเต้น

วัดที่สาม คือ วัดห้วยปลากั้ง ตั้งอยู่ในตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พื้นที่ตั้งของวัดนี้เป็นพื้นที่ภูเขา รอบบริเวณวัดจะถูกรายล้อมไปด้วยเนินเขาอันเขียวขจีมากมาย เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2544 โดยคณะศรัทธาวัดห้วยปลากั้งเริ่มกันก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ จนกระทั่งวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 ได้มี พระอาจารย์พบโชค ติสฺสวํโส ได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมและเริ่มมีการก่อตั้งศาสนวัตถุ เริ่มตั้งแต่กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอฉัน เจดีย์และเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2552 ทางสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีประกาศแต่งตั้งให้เป็นวัดโดยชื่อว่า วัดห้วยปลากั้ง โดยมีพระอธิการพบโชค ติสฺสวํโส เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ปัจจุบันวัดห้วยปลากั้งเป็นวัดที่มีศรัทธาจากต่างจังหวัด ต่างประเทศ เข้ามากราบไหว้นมัสการ และปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ถือเป็นจุดกำเนิดพุทธศาสนาในเชียงรายแห่งหนึ่งที่สำคัญ และไฮไลท์ที่สำคัญของวัดนี้ก็คือ พบโชคธรรมเจดีย์ เจดีย์เอกของทางวัดที่มีความสูงถึง 9 ชั้น มีรูปทรงที่แปลกตาหาชมไม่ได้ที่อื่นนอกจากที่นี่ เป็นศิลปะแบบจีนผสมกับแบบล้านนาได้อย่างวิจิตรงดงาม ภายในมีพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมจำลองแกะสลักจากไม้หอม และแต่ละชั้นจะมีพระพุทธรูปประจำชั้นประดิษฐานอยู่

วัดห้วยปลากั้ง
วัดห้วยปลากั้ง

ทางขึ้นมีความแคบและสูงชันต้องระมัดระวัง พบโชคธรรมเจดีย์ใช้เวลาในการก่อสร้าง 999 วัน และสิ่งที่ตั้งเด่นเป็นสง่าสะดุดตาแก่ผู้พบเห็นคือ องค์พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ ที่มีขนาดความสูง 69 เมตร ภายในมหาเจดีย์ 9 ชั้น ประกอบไปด้วย ชั้นแรกมีองค์เจ้าแม่กวนอิมปางประทานพรที่มีขนาดใหญ่ แกะสลักด้วยไม้จันทร์หอมที่นำมาจาก ประเทศจีน อินเดีย พม่า, ชั้น 2 เจ้าแม่กวนอิมปางประทับยืน, ชั้น 3 เจ้าแม่กวนอิมปางประทับนั่ง, ชั้น 4 หลวงพ่อพระพุทธโสธรจำลอง, ชั้น 5 เจ้าแม่กวนอิมปางพันมือ, ชั้น 6 หลวงปู่โต พรหมรังสี และหลวงปู่ทวด, ชั้น 7 พระพุทธรูปปางนาคปรก ถือว่าเป็นชั้นสวรรค์ดาวดึงห์ ปกป้องคุ้มครองปฐพี, ชั้น 8 พระสังกัจจายน์หรือพระศรีอริยเมตไตรย เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ประทานทรัพย์ ประทานพร ชั้น 9 พระอิศวร และยังมีเจ้าแม่กวนอิมหลายปาง ซึ่งแต่ละปางก็จะขอพรแตกต่างกันไป เช่น เจ้าแม่กวนอิมปางเภสัช ขอพรในเรื่องของการเจ็บป่วยให้หาย, เจ้าแม่กวนอิมปางปราบมารสามหน้า ขออโหสิกรรมในเรื่องของเจ้ากรรมนายเวร, เจ้าแม่กวนอิมปางประธานยศ-ตำแหน่ง, เจ้าแม่กวนอิมปางประทานทรัพย์ ประทานในเรื่องติดขัดเรื่องการเงิน ธุรกิจการค้า เป็นต้น บริเวณรอบเจดีย์มีพระธาตุจำลอง ประจำปีเกิดให้สักการะบูชา

พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม
พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม
วัดห้วยปลากั้ง
วัดห้วยปลากั้ง

วัดที่สี่ คือ วัดร่องขุ่น  วัดแห่งนี้กลายเป็นจุดเช็คอินท์ชื่อดัง ที่ไม่ว่าใครที่มาเชียงรายแล้ว ไม่ได้มาเยี่ยมชมวัดแห่งนี้ ถือว่ามายังไม่ถึงเชียงราย วัดแห่งนี้มีสถาปัตยกรรมและงานศิลปะเต็มไปด้วยลวดลายอ่อนช้อยประณีต ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมวัดนี้อย่างคับคั่งตลอดปี

วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น

จากในอดีตเป็นวัดเล็กๆ ซึ่งอยู่ในสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม ได้รับการบูรณะโดยอาจารย์เฉลิม ชัยโฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชาวเชียงราย ผู้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ซึ่งมีความปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน จนกลายเป็นศาสนสถานที่สวยงามด้วยสถาปัตยกรรมและงานศิลปะเต็มไปด้วยลวดลายอ่อนช้อยประณีต อุโบสถของวัดร่องขุ่นมีสีขาวบริสุทธิ์สะอาดซึ่งได้กลายเป็นเอกลักษณ์เป็นที่จดจำของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติซึ่งพากันเรียกวัดร่องขุ่นว่า วัดขาว (Thailand White Temple) ประดับประดาด้วยช่อฟ้าใบระกา อย่างวิจิตรอลังการตามด้วยลวดลายอ่อนช้อยอื่นๆอีกมากมายเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันลงมาหน้าบันประดับด้วยพญานาคและติดกระจกระยิบระยับโดยความตั้งใจของผู้สร้างนั้นต้องการสื่อสัญลักษณ์ต่างๆในพุทธศาสนา โดยสีขาวหมายถึงพระบริสุทธิคุณส่วนกระจกหมายถึงพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่ส่องแสงโชติช่วงชัชวาลนอกจากนี้ตัวพระอุโบสถยังสร้างอยู่บนเนินเตี้ยๆที่มีทะเลสาบใสสะอาดสะท้อนเงาอาคารได้อย่างชัดเจนและทางเดินเข้าอุโบสถที่เป็นสะพานทอดยาวนั้นก็หมายถึงการเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิส่วนบนของหลังคาได้นำหลักธรรมอันสำคัญยิ่งคือศีลสมาธิปัญญามาแสดงออกในรูปของสัตว์ในช่อฟ้าชั้นต่างๆและภายในอุโบสถยังมีภาพจิตกรรมฝาผนังรวมทั้งอาคารแสดงภาพวาดที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดเพื่อแสดงผลงานของอาจารย์เฉลิมชัยให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมอีกเช่นกัน

วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น

บทความที่เกี่ยวข้อง